messager
check_circle วิสัยทัศน์/พันธกิจ
วิสัยทัศน์ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยสามพาด
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยสามพาด ได้กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) เพื่อแสดงสถานการณ์ในอุดมคติ ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า ซึ่งจะสามารถสะท้อนถึงสภาพการณ์ของท้องถิ่นในอนาคตอย่างรอบด้านภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมด้านต่างๆ จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ คาดหวังที่จะให้เกิดขึ้นในอนาคต ดังนี้ “ ห้วยสามพาด ตำบลน่าอยู่ ประชาชนมีสุข” พันธกิจการพัฒนา 1. ส่งเสริมการใช้ชีวิตตามแบบเศรษฐกิจพอเพียง 2. ส่งเสริมการรวมกลุ่มพัฒนาอาชีพของประชาชนเพื่อสร้างรายได้ลดปัญหาความยากจน 3 ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในด้านต่างๆ 4. จัดบริการด้านสาธารณูปโภค – สาธารณูปการขั้นพื้นฐานให้ทั่วถึง 5. พัฒนาบุคลากรทางภาครัฐโดยเน้นหลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ 6. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นในระดับต่างๆ จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา 1. ประชาชนดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 2. ประชาชนในพื้นที่มีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีสูงขึ้น 3. ประชาชนได้รับการดูแลด้านคุณภาพชีวิตจากทางภาครัฐอย่างทั่วถึงเท่าเทียม 4. ประชาชนได้รับบริการด้านโครงสร้างพื้นฐานทั่วถึง 5. องค์กรมีการบริหารจัดการโดยยึดหลักธรรมาภิบาล 6. ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นเพิ่มขึ้น ยุทธศาสตร์การพัฒนาและแนวทางการพัฒนา จากวิสัยทัศน์ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยสามพาด คณะกรรมการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยสามพาด คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยสามพาด และตัวแทนตัวแทนชุมชนในเขตตำบลห้วยสามพาดได้ร่วมกันกำหนดเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาและจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วน ดังนี้ ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยสามพาด อำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี ยุทธศาสตร์ ที่ 1 การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน แนวทางที่ 1.1 การพัฒนาการก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษา ถนน สะพาน ทางเท้า ท่อระบายน้ำ แนวทางที่ 1.2 การพัฒนาระบบประปา แนวทางที่ 1.3 การพัฒนาระบบไฟฟ้า แนวทางที่ 1.4 การพัฒนาระบบจราจร ยุทธศาสตร์ ที่ 2 การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ แนวทางที่ 2.1 ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้แก่ประชาชน แนวทางที่ 2.2 ส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ ยุทธศาสตร์ ที่ 3 การพัฒนาด้านส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิต แนวทางที่ 3.1 พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ แนวทางที่ 3.2 ส่งเสริมและสนับสนุนการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แนวทางที่ 3.3 ส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ยุทธศาสตร์ ที่ 4 การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น แนวทางที่ 4.1 เพิ่มช่องทางในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารให้แก่ประชาชน แนวทางที่ 4.2 ส่งเสริมและสนับสนุนโอกาสทางการศึกษาและนันทนาการให้แก่เด็กนักเรียน แนวทางที่ 4.3 ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางศาสนา วัฒนธรรม และประเพณี ยุทธศาสตร์ ที่ 5 การพัฒนาด้านการเมืองและการบริหารจัดการที่ดี แนวทางการพัฒนา แนวทางที่ 5.1 ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการเมือง และการมีส่วนร่วมในการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แนวทางที่ 5.2 พัฒนาปรับปรุงจัดหาเครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดถึงสถานที่ในการปฏิบัติงาน ยุทธศาสตร์ ที่ 6 การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แนวทางที่ 6.1 สร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แนวทางที่ 6.2 การกำจัดขยะ